ที่มาของพริตตี้ในประเทศไทย

รู้ไหมว่าสาว ๆ ที่เป็นสีสันให้กับงานมอเตอร์โชว์ และงานแสดงสินค้าอื่น ๆ มาจากไหนกัน ? พร้อมกับคงสงสัยว่าการเริ่มต้นนั้นมาจากไหน ? การทำงานนี้ไม่ได้เป็นการทำงานที่ง่ายเลยน๊ะ ทุกอย่างไม่ใช่แค่ว่าจะสวย และหุ่นเซ็กซี่อย่างเดียวที่จะทำให้สาว ๆ กลายเป็นพริตตี้ได้ ต้องมีองค์ประกอบหลายสิ่งที่สมบูรณทั้งปฏิภาณไหวพริบที่ครบถ้วนเลยทีเดียว


รู้ไหมว่าสาว ๆ ที่เป็นสีสันให้กับงานมอเตอร์โชว์ และงานแสดงสินค้าอื่น ๆ มาจากไหนกัน ? พร้อมกับคงสงสัยว่าการเริ่มต้นนั้นมาจากไหน ? การทำงานนี้ไม่ได้เป็นการทำงานที่ง่ายเลยน๊ะ ทุกอย่างไม่ใช่แค่ว่าจะสวย และหุ่นเซ็กซี่อย่างเดียวที่จะทำให้สาว ๆ กลายเป็นพริตตี้ได้ ต้องมีองค์ประกอบหลายสิ่งที่สมบูรณทั้งปฏิภาณไหวพริบที่ครบถ้วนเลยทีเดียว

อาชีพที่ชื่อว่าพริตตี้นี้มีที่มาทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ คือ Pretty ที่แปลว่า น่ารัก แล้วรู้หรือไม่ว่า ? พริตตี้มีความเป็นมากว่า 25 ปีมาแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น โดยค่ายยักษ์ใหญ่โตโยต้านั่นเอง ที่มีไอเดียให้พริตตี้มาเป็นผู้แนะนำสินค้า ทำให้ลูกค้าสนใจเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลนี้ ทุกครั้งที่มีการจัดแสดงสินค้า เราจะได้เห็นพริตตี้ เป็นผู้นำเสนอและแนะนำสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับลูกค้าผู้เข้าชมงานแสดงสินค้า

Toyota Pretty 
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ถือเป็นบริษัทรถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มในการจัดตั้งทีมงานประชาสัมพันธ์พิเศษในนาม “โตโยต้าพริตตี้” เพื่อทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลทางด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด และอื่น ๆ สู่สาธารณชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ งานมอเตอร์โชว์ งานแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา โตโยต้า พริตตี้ คือ สาวสวย วัยสดใส ที่ผ่านประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัย หรืออยู่ในระหว่างการศึกษา ได้รับโอกาสเติมเต็มประสบการณ์ชีวิต พร้อม ๆ กับรายได้งาม ๆ กว่า 500,000 บาท ส่วนการทำหน้าที่ของโตโยต้าพริตตี้นั้นคือ เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า และสาธารณชน ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ ประชาสัมพันธ์พิเศษ ตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม

ในแต่ละปีจะมีสาวสวย วัยสดใส ส่งใบสมัครเพื่อรับการพิจารณานับพันคน ประสบการณ์ 1 ปี ที่พวกเธอได้รับ เป็นเสมือนประกาศนียบัตรแห่งประสบการณ์ชีวิต และความสามารถพิเศษอันล้ำค่า เพื่อประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพที่เธอใฝ่ฝันต่อไป เช่นเดียวกับ สุธิกัญญา ไทยเพ็ชร หรือ แจม เธอ คือ พริตตี้รุ่นที่ 1-2 ของโตโยต้า ในวันนี้เธอประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมากกับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัทเล็กซ์ซัสกรุงเทพ พร้อม ๆ กับทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินน้อง ๆ ในรุ่นที่ผ่านมาด้วย นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ใคร ๆ ก็อยากเดินเข้ามาสู้เส้นทางนี้

Isuzu Lady
ปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผย ว่า ”อีซูซุ เลดี้” ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของอีซูซุ เพราะมีภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับภาพพจน์ของ สินค้าและการตลาด เนื่องจากทีมจะต้องเดินทางไปพบกับลูกค้าทั่วประเทศที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ดังนั้นจะต้องสามารถประยุกต์วิธีการสื่อสารกับลูกค้าที่แตกต่าง รู้จักแก้ไขสถานการณ์ นอกจากนั้นก็ยังจะต้องนำเสนอรายละเอียดของสินค้าได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

เราให้ความสำคัญกับ อีซูซุ เลดี้มาก การคัดเลือก จะต้องดูคนที่มีหน้าตาที่ดี แต่ไม่ได้ความว่าจะต้องเป็นเหมือนกับนางแบบ สิ่งที่สำคัญคือ บุคลิก และมันสมอง การที่ลูกค้าเราหลากหลาย ทำให้คณะกรรมการตัดสินต้องหลากหลายตามไปด้วย นางปนัดดากล่าว

ดังนั้นการคัดเลือกทีมอีซูซุ เลดี้ จึงมีขั้นตอนที่เข้มงวด จาก จำนวนผู้สมัครเกือบ 1,000 คน ในแต่ละปี จะผ่านการกลั่นกรอง 3-4 ขั้นตอน ก่อนถึงรอบสุดท้าย ซึ่งจะมีคณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารทั้งชาวไทย และญี่ปุ่น หลายกลุ่มอายุ และมีทั้งชายและหญิง ซึ่งเป็นแนวทางที่อีซูซุใช้มากว่า 10 ปี

Mitsubishi Angel
เดิมเรียกว่า Mitsubishi Candy Gals มีขึ้นครั้งแรกประมาณปี 2528 โดยวิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ซึ่งเป็นการคัดเลือกพนักงานประจำในแผนกต่าง ๆ เข้ามาทำหน้าที่ จำนวนทั้งสิ้น 4 คน สำหรับหน้าที่หลัก ๆ จะเป็นการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท อาทิ งานเปิดตัวรถยนต์ งานแถลงข่าว กิจกรรมแฟมิลี่ แรลลี่ หลังจากนั้นได้มีการรับสมัครบุคคลภายนอกเข้าเป็น Candy Gals ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของภาครัฐ

หลังจากนั้นใน พ.ศ 2547 วิกรานต์ อมาตยกุล เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก Candy Gals มาเป็น Mitsubishi Angel พร้อมเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน โดยจะเป็นการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลทั่วไปเข้าเป็นตัวแทนแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในงานใหญ่ ๆ อาทิ มอเตอร์โชว์ มอเตอร์เอ็กโป รวมไปถึงกิจกรรมของทางบริษัทฯ บ้างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้บริหาร สำหรับสไตล์ของ Mitsubishi Angel ในหลายปีที่ผ่านมาจะเป็นแบบสดใส น่ารัก แต่สำหรับปีนี้จะเน้น สไตล์ Smart Sexy ดังนั้น Angel จะสามารถสะท้อนและถ่ายทอดเอกลักษณ์เฉพาะของรถแต่ละรุ่นได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังดูแลเอาใจใส่ Mitsubishi Angel เหมือนเป็นสมาชิกของมิตซูบิชิ ซึ่งส่งผลให้ทุกคนมีความสุขและเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละครั้ง

ทางด้านคุณ เพ็ญเพ็ชร ตันตยานนท์ เจ้าของ Mitsubishi Candy Gals รุ่นแรกและตำแหน่งปัจจุบันก็คือ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผู้จำหน่าย ของ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บอกกับเราว่าเป็นความภูมิใจและเป็นเกียรติที่สุดที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพริตตี้รุ่นแรกสำหรับมิตซูบิชิ และถือว่าเป็นโอกาสสำคัญเพราะเป็นการทำงานในบริษัทแรกในชีวิต และถือว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง ส่วนประสบกาณณ์ที่ได้นั้นทำให้เรากล้าแสดงออก กล้าพบปะผู้คน มากขึ้น และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ซึ่งถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมงานที่รับผิดชอบอยู่ได้มาก

พริตตี้สมัยนี้เป็นคนรุ่นใหม่ สวย เซ็กซี่ กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่า แต่จะทำหน้าที่และรับผิดชอบในการแนะนำสินค้า สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ หรืองานโรดโชว์ เท่านั้น ซึ่งจะต่างจากเมื่อก่อนที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ ต้องอยู่ภายในกรอบ และระเบียบที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ซึ่งหลังจากไปทำงานในงานต่าง ๆ แล้วจะต้องทำงานประจำตามหน้าที่ของตัวเองให้ดีด้วย

Mazda Sweet
มาสด้าค่ายที่ยังคงคอนเซ็ปท์ Zoom Zoom ตลอดกาล พร้อมด้วยพริตตี้สาวใส น่ารักสไตล์อาโนเนะในนาม “Mazda Sweet” พร้อมรอยยิ้มหวานๆหนุ่มๆเดินผ่านแล้วใจสั่นกันไปหมดเลยแต่ย้อนกลับไปแล้วทีมนี้เพิ่งเริ่มมาได้เพียง 7 ปีเท่านั้นเอง

อุทัย เรืองศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้มีหน้าที่ดูแลและทำการคัดเลือกมาสด้า สวีท บอกกับเราว่า “ทีม Mazda Sweet นี้เริ่มมาประมาณ 7 ปีแล้วก่อนหน้านั้นเราก็มีพริตตี้ในงานโชว์รถมาตลอดเพียงแต่ไม่ได้มีคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจนจนกระทั่งกระแสของพริตตี้มาแรงในยุคหลังๆที่ไม่ว่ามองไปงานไหนก็ต้องมีพริตตี้เคียงคู่เสมอ เราเลยอยากหาเอกลักษณ์ในกับมาสด้า ด้วยการคัดเลือกทีมประชาสัมพันธ์พิเศษขึ้นมา โดยรับสมัครผ่านเว็บไซต์”

สำหรับคุณสมบัติของพริตตี้มาสด้านั้น อุทัยบอกว่าข้อแรกเลยต้องมีหน้าตาน่ารัก สดใส สไตล์ญี่ปุ่นเพราะมาสด้าเป็นรถสัญชาติปลาดิบจึงอยากให้พริตตี้นั้นมีหน้าตาที่เข้ากันด้วย ข้อต่อมานั้นต้องมีความสามารถในการพูดคุย เจรจา มีไหวพริบแก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าได้ดี เมื่อผ่านรอบคัดเลือกมาแล้วพวกเธอทั้งหมดจะได้เข้ารับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทในเรื่องการวางตัว การนำเสนอสินค้า รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถยนต์แต่ละรุ่น

ส่วนเรื่องรายได้นั้นค่ายมาสด้าถือว่าไม่น้อยหน้าเลยเพราะสาวๆแต่ละคนนั้นจะได้วันละ 3,500 บาทต่อวัน การเซ็นสัญญานั้นเป็นงานต่องาน สามารถไปรับงานอื่นได้ แต่ต้องมีขอแม้ว่าจะต้องไม่ใช่เกี่ยวกับรถยนต์

“พริตตี้แต่ละคนนั้นมีบุคลิกที่แตกต่างกันออกไป บางคนคุยเก่งอัธยาศัยดีเราจะให้รับงานต่างจังหวัดพวกโรดโชว์ บางคนมีความรู้เรื่องรถมากหน่อยก็ให้งานเปิดตัวรถหรืองานมอเตอร์โชว์ แล้วแต่ละงานเราจะให้พริตตี้ยืนประจำที่รถของตัวเองแต่ละรุ่นที่เราเอามาแสดงดังนั้นจำนวนพริตตี้ในแต่ละปีจึงไม่เท่ากัน คือมีน้อยสุด 4 คนจนถึงมากสุด 12 คน” อุทัยกล่าว

ทั้งหมดก็เป็นข้อมูลที่เอามาให้ชมสำหรับคนที่สนใจในความเป็นมาของคำว่า พริตตี้ไม่ว่ามากน้อยก็เห็นได้ว่าพริตตี้ไม่ใช่ผู้หญิงที่สวยแต่รูป พวกเธอมีทั้งความรู้ที่ได้ฝึกอบรมมา และปฏิภาณไหวพริบ ทุกอย่างทำให้อาชีพพริตตี้ มีมายาวนานและคงจะมีต่อไปในอนาคตที่ยาวไกลเลยทีเดียว

ที่มาของข้องมูล : Google

เรียบเรียงโดย : พี่เจตโมเดลลิ่ง