การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบผู้ว่าจ้างออกแทนให้

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้
สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ตลอดไปคำนวณ ดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 20,000×3/(100-3) = 618.56 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+618.56 = 20,681.56 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,618.56×3% = 618.56 บาท
ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ 20,681.56 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618.56 บาท
จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,618.56 – 618.568 = 20,000 บาท
เงินได้ 9,000 บาท
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 3%
จำนวนเงินได้ที่จ่าย = 9,000 บาท
แทนสูตร : จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
9,000 x 3 / (100 – 3) = 9,000 x 3 / 97 = 278.35 บาท
ดังนั้นต้องจ่ายเพิ่มอีก 278.35 บาท รวมเป็น 9,000 + 278.35 = 9,278.35 บาท
หากคิดภาษี 3% จาก 9,278.35 บาท จะเหลือ 9,278.35 x (100 – 3) / 100 = 9,278.35 x 97 / 100 = 9,000 บาทพอดี
> ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งเดียว….จะหมายถึง กรณีหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั่วไป เช่น จ่ายค่าบริการ 100 บาท หัก 3% จ่ายจริง 97 บาท
> ภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ตลอดไป….จะหมายถึง กรณีออกภาษีให้ผู้รับ จะมีวิธีคิดโดยคูณค่าบริการด้วยอัตราภาษี หารด้วย ร้อยลบ
อัตราภาษี เช่น จ่ายค่าบริการ 100 บาท แต่ผู้รับจะขอรับเต็ม (ไม่ยอมให้หักภาษี) ดังนั้นต้องคำนวณภาษี ดังนี้
100 x (3/97) = 3.09 บาท…ใน ภ.ง.ด.3 (หรือ 53) จะกรอกค่าบริการ (100+3.09) = 103.09 บาท หักภาษี 3.09
นั่นคือผู้รับจะได้เงิน (103.09 – 3.09 ) 100 บาทเต็ม…